หน่วยที่4 ระบบการทำธุรกรรมในธุรกิจดิจิทัล
หน่วยที่4 ระบบการทำธุรกรรมในธุรกิจดิจิทัล
1. ความหมายของระบบธุรกรรมในธุรกิจดิจิทัล
การทำธุรกรรมในธุรกิจดิจิทัลหมายถึงการดำเนินการต่าง
ๆ ในเรื่องของการเงินหรือแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการโดยใช้เครื่องมือสื่อสารต่าง ๆ
เช่นสมาร์ตโฟน Mobile App หรือ E-wallet ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและทุกคนสามารถทำได้ถ้ามีบัญชีธนาคารหรือพร้อมเพย์
2. ความสำคัญของระบบธุรกรรมในธุรกิจดิจิทัล
ระบบธุรกรรมในธุรกิจดิจิทัลมีความสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมให้การทำธุรกิจนั้นมีความมั่นคงขึ้นเพราะได้อำนวยความสะดวกให้การทำธุรกรรมทางการเงินเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลาและนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงทางสังคมพฤติกรรมผู้บริโภคและเศรษฐกิจโลกจากผลสำรวจธุรกรรมการชำระเงินผ่านบริการ
Mobile
Banking ของธนาคารแห่งประเทศไทยพบว่าประเทศไทยมีจำนวนบัญชีลูกค้าที่ใช้บริการ
Mobile Banking มากกว่า 37
ล้านบัญชีเพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันในปีที่แล้วกว่า 1
ล้านบัญชีสะท้อนให้เห็นความนิยมของคนไทยที่เพิ่มมากขึ้นต่อบริการนี้อันเป็นสัญญาณที่ดีที่แสดงให้เห็นถึงการก้าวสู่ความเป็น
4.0 และสังคมไร้เงินสด (Cashless Society ของประเทศไทยอีกทั้งยังเกิดการสร้างธุรกิจอย่างมั่นคงผ่านระบบธุรกรรมดิจิทัลและหากดูในกลุ่มธุรกิจที่สำคัญต่อเศรษฐกิจประเทศอย่างธุรกิจ
E-Commerce พบว่าแต่ละธนาคารพัฒนาระบบ Mobile Banking
ให้สามารถตอบทุกโจทย์ความต้องการของผู้ซื้อ-ผู้ขายสินค้าออนไลน์รวมทั้งการพัฒนาระบบและฟีเจอร์ให้ครอบคลุมทุกวงจรการทำธุรกิจของผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซมากที่สุด
3.
ประเภทของระบบธุรกรรมในธุรกิจดิจิทัล
ระบบธุรกรรมในธุรกิจดิจิทัลมีหลายประเภทคือ
3.1
Digital
Banking
*********Digital Banking
หมายถึง
การทำธุรกรรมด้วยระบบการทำธุรกรรมของธนาคารในระบบดิจิทัลเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีการพัฒนาให้มี
Sampling Rate สูงเป็นสัญญาณที่เป็นระบบไม่ต่อเนื่องทำให้คุณภาพของข้อมูลดีขึ้น
*********Digital Banking ไม่ใช่เพียงเป็น Internet Banking แต่หมายรวมถึงการที่ธนาคารมีระบบให้ลูกค้าทำธุรกรรมกับธนาคารได้
โดยไม่ต้องไปที่ธนาคารไม่ต้องติตต่อหน้าเคาน์เตอร์เพื่อให้พนักงานกระทำการด้านการเงินให้
แต่ลูกค้าสามารถจัดการทำธุรกรรมได้เองผ่านทางอินเทอร์เน็ตเรียกว่า Internet
Banking ผ่านโทรศัพท์มือถือเรียกว่า หรือจะใช้วิธีผ่านบริการ Call
Center ก็ได้ทั้งหมดนั้นคือภาพรวมของ Digital Banking
********ธุรกรรมที่ทำผ่าน
Digital
Banking ได้เช่น
*********1) การโอนเงินโดยโอนจากเจ้าของบัญชีผู้โอนไปสู่เจ้าของ
บัญชีผู้รับโอนผ่านโทรศัพท์มือถือเช่น Net Banking, K Banking เป็นต้น
********2)
ชำระค่าสินค้าและบริการโดยผ่านแอปพลิเคชันของธนาคารอาจจะเป็นการชำระค่าน้ำค่าไฟฟ้าหรือการผ่อนชำระค่างวดต่าง
ๆ
*********3) บริการเรียกดูข้อมูลและจัดการบัญชีต่าง ๆ เช่นเพิ่มและจัด
การบัญชีของตนเองเพิ่มและจัดการบัตรดูรายละเอียดบัญชีระงับบัญชี
ฯลฯ
*********4)
ซื้อ-ขาย-สับเปลี่ยนกองทุนและจัดการรายการซื้อขายต่าง ๆ
เรียกดูและแก้ไขแบบประเมินความเสี่ยง (Risk Profile)
*********5) Talk to Net
Officer ทำธุรกรรมผ่านระบบ VDO Call โดยเจ้าหน้าที่
Net Officer พร้อมส่ง
สลิปรายการให้ผ่าน
E-mail
*********6) ตั้งค่าการใช้งานระบบเปลี่ยน Net ID, Password, ตั้งค่าวงเงินการทำรายการจัดการบัญชี
พร้อมส่งสลิปรายการให้ผ่าน E-mail
*********7)
ชำระเงินกู้บุคคลอื่นขออนุมัติสินเชื่อเบื้องต้น
********8)
ขอข้อมูลเครดิตบูโรกับ National Credit Bureau
9) สั่งซื้อธนบัตรต่างประเทศสกุลเงินต่าง ๆ ล่วงหน้า
ข้อดีของและผลกระทบของ Digital
Banking
********ข้อดีขออง
Digital
Banking
*********1)เพิ่มความสะดวกให้ลูกค้าผู้ใช้บริการในการดำเนินธุรกรรมทางการเงินมากขึ้นไม่ต้องไปติดต่อธนาคาร
แต่ทำได้ผ่าน Internet Banking หรือ Mobile Banking ได้เลย
*********2)
ทำให้มีเวลาเหลือไปบริหารหรือทำงานอื่น ๆ
ที่จำเป็นมากกว่าการไปรอต่อคิวที่ธนาคารเหมือน
********3)
ลดค่าใช้จ่ายในการติดต่อด้านธุรกรรมไม่ว่าจะเป็นการเดินทางไปที่ธนาคารหรือการชำระค่าธรรมเนียมในการโอนชำระค่าน้ำค่าไฟอีกต่อไป
******** 4)
ลดความเสี่ยงจากการถอนเงินจำนวนมาก ๆ จากธนาคาร
*********5)
ในส่วนของธนาคารลดค่าใช้จ่ายในการลงทุนเปิดสาขาใหม่แบบไม่รู้จบเพื่อให้เข้าถึงทุกพื้นที่เหมือนในอดีตในอดีต
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น